ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์  (อ่าน 41167 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2011, 07:24:08 pm »
0





อ่านต่อที่ลิงก์นี้นะครับ
http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=loongyeam&board=1&id=675&c=1&order=lastpost
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2011, 07:26:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29043
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2011, 07:48:56 pm »
0

คำนำ
เล่าเรื่องหลวงปู่แสง


    ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วจะหาพระภิกษุรูปใดที่จะเป็นที่รู้จักของมหาชนยิ่งไปกว่า
สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถราจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นไม่มี
แต่จะหาผู้ที่รู้จักพระมหาเถรเจ้าอันเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นบูรพาจารย์ องค์สำคัญองค์หนึ่งของสมเด็จพุฒาจารย์โตอันมีนามว่าหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ เมืองลพบุรี น้อยเต็มที


และมีอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อของหลวงปู่แสงเลยทั้งที่หลวงปู่แสง ขรัวตาแสง หรือพระครูมหิทธิเมธาจารย์ นี้ เป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นอันมากในยุคที่ท่านทรงสังขารอยู่พระเกจิอาจารย์หลายรูปที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบันนี้ ที่ได้เคยมานมัสการขอมอบตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่างๆจากหลวงปู่แสงมีเป็นจำนวนมากเป็นที่เลื่องลือขจรไปในหมู่ผู้แสวงหาความรู้วิชาการทั้งสมถะ และวิปัสสนา คาถาอาคม ฯลฯเป็นที่รู้จักไปจนถึงในรั้วในวัง

    เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่ประวัติขององค์หลวงปู่แสงหาได้ยากยิ่ง ทั้งที่มา และที่ไปของหลวงปู่ล้วนเป็นปริศนาจวบจนปัจจุบันหนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมประวัติของหลวงปู่แสงเท่าที่มีบันทึกอยู่ นำมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวเดียวกันเพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่อนุชนคนรุ่นหลังสืบไป


พ.กลาง


เจ้าขรัวแสง
องค์อาจารย์ของขรัวโต


คำว่า "เจ้าขรัวแสง" ที่ผู้เขียนใช้เอ่ยนามของหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์นี้
ได้มาจากข้อความตามภาพประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จโต ในพระอุโบสถวัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ
ที่ท่านได้ให้ช่างเขียนประวัติของท่านไว้ในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งต่อมาได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ


แต่ในปัจจุบันภาพและข้อความเหล่านั้นมิได้คงอยู่ดังเดิมอีกแล้ว จากการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้ให้นายช่างเขียนตัวอักษรไว้ใต้ภาพเจ้าคุณอาจารย์หลายๆ องค์ของท่าน
ซึ่งคำว่า เจ้าคุณขรัว และ เจ้าขรัว นั้น เป็นคำซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคารพยกย่องอย่างสูง
และก็แฝงไว้ด้วยเอกลักษณ์ประจำองค์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ด้วย

เพราะในยุคนั้น ในหลวงรัชกาลที่ ๔ และชาวพระนครต่างก็รู้จักเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในนามขรัวโต
นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุของรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเอ่ยนามของหลวงปู่แสงว่า ขรัวแสง เช่นเดียวกันดังจะได้แสดงเรื่องราวของหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ ไว้เป็นลำดับในหนังสือเล่มนี้


-------------------------------- 

...พระเจดีย์ที่สูงโดดเด่นอันปรากฏอยู่ในเขตวัดมณีชลขัณฑ์นั้น ชาวเมืองลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียงเรียกกันว่า
เจดีย์หลวงพ่อแสง แม้แต่พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานอยู่ในซุ้มของพระเจดีย์ก็เรียกกันว่าหลวงพ่อแสง ด้วยเป็นที่ทราบกันว่า

พระเจดีย์ และพระพุทธรูปในซุ้ม สร้างโดยหลวงพ่อแสง อดีตเจ้าอาวาสของวัดมณีชลขัณฑ์
ประวัติของพระเจดีย์ น่าอัศจรรย์พอกับประวัติของหลวงปู่แสงชาวลพบุรีเรียกท่านว่า หลวงพ่อแสง ส่วนในเอกสารเก่าๆ ที่จะกล่าวต่อไป เรียกท่านว่า ขรัวแสง บ้าง พระอาจารย์แสง บ้างและผู้เขียนซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่ในยุคปัจจุบันจึงขอเรียกท่านว่าหลวงปู่แสง

เป็นที่เลื่องลือกันว่าหลวงปู่แสงได้สร้างพระเจดีย์องค์นี้แต่ลำพังผู้เดียว เมื่อการก่อสร้างสำเร็จลุล่วงลงแล้ว
ท่านก็หลีกเร้นปลีกวิเวกหายไปจากเมืองลพบุรีอย่างค่อนข้างลึกลับ ไม่ปรากฏว่าท่านไปจำพรรษาต่อที่ใด หรือมรณภาพลงที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่กาลต่อมา เมื่อมีผู้ระลึกถึงคุณของหลวงปู่แสง ก็ได้จัดสร้างวัตถุมงคลอันเกี่ยวเนื่องกับองค์ท่านไว้เป็นที่พึ่งที่ระลึก

โดยมีทั้งสร้างเป็นรูปพระเจดีย์ และพระพุทธรูป ที่อยู่คู่องค์พระเจดีย์ ณ วัดมณีชลขัณฑ์
แล้วก็มีการจัดสร้างเหรียญ และพระผงรูปเหมือนของท่านด้วย พร้อมๆ กับความพยายามค้นคว้า
และเริ่มต้นบันทึกประวัติของท่านไว้เป็นลายลักษณ์อักษร


---------------------------------------------------------------------------------

หลักฐานทางเอกสารชิ้นสำคัญที่มักได้รับการกล่าวถึง คือ จดหมายเหตุ ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงกล่าวถึงขรัวแสงไว้โดยตรง ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๑ ตอนที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดมณีชลขัณฑ์ ทรงนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่งว่า

 “ในพระวิหารมีพระกะไหล่ทองตั้งบนบุษบกองค์หนึ่ง เป็นพระของท่านยมราชสร้าง ดูภูมิวัดแลการที่ทำงามพอสมควรเป็นอย่างดีอยู่แล้ว กับพระเจดีย์สูงอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างเกาะ สร้างมาช้านานหนักหนาแล้ว ตามเสด็จขึ้นมาแต่ก่อนทีไรก็เห็นก่อค้างอยู่อย่างนั้น ครั้นมาเมื่อปีวอกดูเหมือนแล้วไป พระเจดีย์องค์นี้เขาว่าเป็นของขรัวแสง

คนทั้งปวงนับถือว่าเป็นผู้มีวิชา เดินตั้งแต่เมืองลพบุรีเช้าลงไปฉันเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวางเจ้านายรู้จักมากหน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์องค์นี้ ก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วยราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรส่งอิฐปูนแลพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งให้ผู้อื่นช่วยเมื่อตายไปแล้ว ไม่ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่”

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องราวของพระเจดีย์วัดมณีชลขัณฑ์ และองค์ผู้สร้างซึ่งท่านเรียกว่าพระอาจารย์แสง ความว่า "ที่ท้องทุ่งพรหมาศอยู่ใกล้เมือง มีพระเจดีย์สูงที่วัดมณีชลขัณฑ์ เดิมชื่อวัดเกาะแก้วองค์ ๑แลเห็นได้แต่ไกล ชวนให้สำคัญว่าเป็นของสร้างไว้แต่โบราณ แต่แท้จริงเป็นของพระภิกษุองค์ ๑ ชื่อพระอาจารย์แสงเป็นผู้คิดแบบสร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๔"

นอกจากนี้ นามของหลวงปู่แสง ยังปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติวัดว่า

"พระเจดีย์หลวงพ่อแสง อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกสร้างไว้เป็นอนุสรณ์ในชีวิตท่าน โดยสร้างด้วยบุญบารมีของท่านเองไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของวัดเลย"

ข้อความที่กล่าวว่าหลวงพ่อแสง เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดมณีชลขัณฑ์นั้น หมายถึงท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก หลังจากเปลี่ยนเป็นคณะธรรมยุตถ้าดูตามบันทึกประวัติวัดมณีชลขัณฑ์จะปรากฏนามเจ้าอาวาสปกครองวัดมาก่อนหน้านั้น ๓ รูป จนมาถึง ปี พ.ศ.๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งวัดเกาะแก้วให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี คณะธรรมยุตแล้วทรงโปรดให้พระครูมหิทธิเมธาจารย์ (พระครูแสง) จากวัดโสมนัสราชวรวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว

จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงพระราชทานนามวัดใหม่เป็นวัดมณีชลขันธ์ (เขียนแบบเก่า)
ในทำเนียบประวัติเจ้าอาวาสวัดมณีชลขัณฑ์ ระบุว่า พระครูมหิทธิเมธาจารย์ มาจากวัดโสมนัสราชวรวิหาร
มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมณีชลขัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๐๙ - พ.ศ.๒๔๑๘ รวมเวลา ๙ ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องกับที่ท่านดำเนินการสร้างพระเจดีย์ ณ วัดมณีชลขัณฑ์ นั่นเอง


------------------------------------------------

...หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน (พระเทพสิงหบุราจารย์) ซึ่งถือเป็นองค์ประธานการสร้างรูปหล่อหลวงปู่แสง ปี ๒๕๒๙ เคยกล่าวให้ศิษย์ฟังว่า

…อาตมานึกถึงที่อาตมาได้บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ พระพุทธเจ้าหลวงได้ตรัสกับอาตมาว่า
"พระคุณเจ้า โยมจะบอกให้ พ.ศ.๒๕๓๐ เจ้าคุณอาจารย์ของเราจะมาอยู่ในโรงอุโบสถของท่าน"
อาตมาถามว่า "เจ้าคุณอาจารย์ไหนล่ะ" ท่านตอบว่า "เจ้าคุณอาจารย์ของเราคือสมเด็จโต พรหมรังสี พระคุณเจ้าไม่น่าจะไม่รู้จัก"


อาตมาก็บอกว่า "โยม จะมาอยู่ได้ยังไง โบสถ์ก็จะพังแล้ว วัดก็โทรมแล้ว"
ท่านตอบว่า "พระคุณเจ้า คนมีบุญเขาจะเอามา" อาตมาก็จดไว้ พ.ศ.๒๕๐๐ กับ พ.ศ.๒๕๓๐ ห่างกันตั้ง ๓๐ ปี
ท่านยังบอกต่อไปว่า "ผู้มีบุญวาสนานั้นจะนำพระอาจารย์ของเจ้าคุณอาจารย์เรามาอยู่ที่วัดนี้ด้วย"
อาตมาก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร มาทราบตอนหลังว่าเป็นหลวงปู่แสงนี่เอง ท่านได้บอกไว้หมดว่า

‘อาจารย์ของเจ้าคุณสมเด็จอ่อนกว่า แต่เจ้าประคุณสมเด็จต้องมายอมเป็นศิษย์ของหลวงปู่แสง เพราะท่านได้สำเร็จญาณสมาบัติ’

------------------------------------------------------------------------



จากที่มีการบันทึกภาพประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ในคราวนี้นี่เอง ทำให้นักค้นคว้าในยุคหลัง
ได้วินิจฉัยเพิ่มเติมเขียนเป็นประวัติเจ้าประคุณสมเด็จฯ ในมุมมองของแต่ละท่าน โดยท่านหนึ่งคือคุณฉันทิชัย
ได้วิเคราะห์ภาพตอนหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับหลวงปู่แสงไว้ว่า


"อีกตอนหนึ่งเป็นภาพบ้านปลัดนุด ตัวปลัดนุดนั่งอยู่บนเรือนกับคนอีกหลายคน ตอนข้างล่างมีภาพบ้านอยู่ริมตลิ่ง
มีพระภิกษุนั่งอยู่บนเรือนกับคนอีกหลายคน ตอนข้างล่างมีภาพบ้านอยู่ริมตลิ่ง มีพระภิกษุนั่งอยู่หลายองค์ มีผู้หญิงนั่งอยู่ ๒ คน ทางข้างซ้าย และนั่งอยู่หน้าพระอีกคนหนึ่ง มีเรือจอดอยู่หน้าบ้าน มีหนังสือเขียนอยู่ข้างล่างว่า เจ้าคุณขรัว ๑  เจ้าคุณชินวร

ภาพนี้เข้าใจว่าเป็นภูมิภาคของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพตอนแรกแสดงความโอ่โถงของพระเกษม เช่นขุนนางในสมัยนั้นดังปรากฏมาแล้วแต่ตอนต้น

ภาพตอนต่อมาแสดงว่า เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เป็นคนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพคนขนของคงมีความหมายถึงการเตรียมทำบุญ

ตอนต่อมาแสดงว่ามีการทำบุญที่บ้านปลัดนุด โดยนิมนต์ เจ้าขรัว ๑ และเจ้าขรัวชินวรทำพิธี และฉันที่บ้าน

สำหรับเจ้าขรัว ๑ เข้าใจว่าเป็นเจ้าคุณญาณสังวรเถร (สังฆราชไก่เถื่อน สุก) อย่าลืมว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวอยุธยาและสังฆราชไก่เถื่อน ก็เป็นคนชาวอยุธยา ส่วนเจ้าขรัวชินวรนั้น ขอเดาว่าอาจเป็นขรัวแสง พระอาจารย์ด้านมายาศาสตร์

องค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คู่กับสังฆราชไก่เถื่อน เพราะท่านชอบมาทำบุญบำเพ็ญกรณีย์ที่จังหวัดอยุธยาเป็นนิจ ท่านขรัวทั้ง ๒ นี้ มีอายุอยู่ในสมัยเดียวกัน และต่างเป็นพระอาจารย์ทางวิปัสสนาและมายาศาสตร์อย่างสำคัญของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ด้วยกันและเป็นที่เชื่อกันว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาศึกษาวิชาลี้ลับทางกฤตยาคมแห่งมายาศาสตร์ ที่จังหวัดอยุธยาและต่อมาได้ศึกษากับสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) อาจารย์เดิมที่วัดพลับอีก”
--------------------------------------------------------------------------------

ในประวัติเจ้าประคุณสมเด็จโต สำนวนของตรียัมปวาย กล่าวเกี่ยวกับหลวงปู่แสงไว้ว่า

"โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒ การศึกษาวิปัสสนาธุระ เจริญรุ่งเรือง ด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุงวิทยาประเภทนี้โดยโปรดให้อาราธนาพระภิกษุที่ทรงคุณวุฒิ ในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบาตรไตรจีวร กลด และบริขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วทรงแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์บอกพระกัมมัฏฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์

(ความพิสดารปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๒ ปีมะเส็งตรีศก พ.ศ.๒๓๖๔ เลขที่ ๗)

การศึกษาวิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สันนิษฐานว่าท่านจะได้เล่าเรียนในหลายสำนักด้วยในสมัยนั้น (โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒) การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญแพร่หลายนัก มีครูอาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณอยู่มากดังกล่าวแล้ว

แต่ที่ทราบเป็นแน่นอนนั้นว่า ในชั้นเดิมท่านได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหารและในสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม และดูเหมือนจะได้เล่าเรียนจนมีความรู้เชี่ยวชาญแต่เมื่อยังเป็นสามเณรด้วยปรากฏว่าเมื่อเป็นสามเณรนั้น ครั้งหนึ่งท่านได้เอาปูนเต้าเล็กๆ ไปถวายเจ้าคุณบวรฯ ๑ เต้า กับถวายพระในวัดนั้นองค์ละ ๑ เต้าเวลานั้นไม่มีใครสนใจ มีพระองค์หนึ่งเก็บปูนนั้นไว้ แล้วปั้นเป็นลูกกลมๆ สัก ๓-๔ ลูก ภายหลังกลายเป็นลูกอมศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือกันขึ้นดังนี้

ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรี อีกองค์หนึ่ง”
ข้อมูลจากหนังสือ สมุดสมเด็จ พ.ศ.๒๕๕๑ อนุสรณ์ ๒๐๐ ปี แห่งชาตกาลสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตารามโดย พระครูกัลยาณานุกูล (พระมหาเฮง อิฏฺธาจาโร) หน้า ๑๘๒ บันทึกไว้ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเรียนวิชาย่นระยะทางมาจากหลวงปู่แสง

“คราวหนึ่งมีผู้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปในงานพิธีมงคลโกนจุก ที่จังหวัดอ่างทอง ท่านได้เริ่มออกเดินทางก่อนกำหนดเวลาเพียง ๓ ชั่วโมงมีคนสงสัยกันว่าท่านจะไปทันเวลากำหนดได้อย่างไร ถึงกับได้สอบถามไปยังเจ้าภาพในภายหลังต่อมา ก็ได้รับคำตอบว่า ท่านไปทันเวลาตามที่กำหนดในฎีกาไม่คลาดเคลื่อน ว่าวิชานี้ท่านได้ศึกษามาจากพระอาจารย์แสง ที่จังหวัดลพบุรี”


ที่มา  http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=loongyeam&board=1&id=675&c=1&order=lastpost


ขออนุญาตช่วยคุณเรนเมนสักครั้ง เรื่องนี้น่าสนใจ ครับ

ผมแนบไฟล์ หนังสือเรื่อง "เจ้าขรัวแสง แสงแห่งบูรพาจารย์" มาให้ เชิญดาวน์โหลดได้เลย

 :welcome: ;) :s_good: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2011, 12:44:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2011, 02:39:21 am »
0
น่าอ่านมาก ครับ เพราะประวัติ ขรัวตาแสงนั้น หาอ่านในเน็ตยากมากครับ

 :08: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29043
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ภูมิใจนำเสนอ อันดับที่ ๓
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 01:45:49 pm »
0
วัดมณีชลขัณฑ์ ที่อยู่ ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ธงชาติของไทย ประเทศไทย

วัดมณีชลขัณฑ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดมณีชลขัณฑ์ Wat Mani-Sholakhan เป็น วัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี



ที่ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้งมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางท้องพรหมาสตร์ มีอาณาเขตดังนี้

    ทิศเหนือติดหมู่บ้านสระเสวย
    ทิศใต้ติดต่อตลาดล่าง ทิศตะวันออกติดต่อโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าหิน)
    ทิศตะวันตกติดต่อหมู่บ้านสะพาน 2 ลักษณะพื้นที่เป็นเกาะกลางท้องพรหมาสตร์รูปสามเหลี่ยมชายธง
    ทิศเหนือมีความกว้าง 89 วา ด้านใต้กว้าง 16 วา ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาว 93 วา
    มีเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ 16 ตารางวา




ประวัติ

วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ของจังหวัดลพบุรี ที่นอกจากจะมีสิ่งสำคัญหลายประการแล้ว ยังเปรียบเสมือน ประตูเมืองลพบุรี ได้อีกด้วย กล่าวคือเป็นเส้นทางสายตรงสายเดียว ระหว่างจังหวัดลพบุรี และจังหวัดสิงห์บุรี ต้องสร้างสะพานโดยอาศัยเกาะตัววัดเป็นที่เชื่อมกลาง ผู้คนที่สัญจรไปมาจึงต้องผ่านวัดนี้ หรือชาวสิงห์บุรีที่เดินทางมาลพบุรีและชาวลพบุรีเองก็ใช้เส้นทางสายนี้ในการเดินทางไปสู่จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอื่นๆ

ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าวัดมณีชลขัณฑ์เป็นประตูเข้าสู่ตัวเมืองลพบุรีด้านตะวันตก เช่นเดียวกับที่พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ วงเวียนเทพสตรี ซึ่งชาวลพบุรีส่วนใหญ่จะเรียกว่าวงเวียนพระนารายณ์ก็ยังเป็นประตูเมืองด้านตะวันออกอีกด้วย


เจดีย์พระอุโบสถ

วัดมณีชลขันฑ์ วัด พระอารามหลวง วัดมณีชลขัณฑ์* เป็นวัดเก่าแก่หลายชั่วอายุคน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างเมื่อใด ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมชื่อ วัดเกาะแก้ว และจากหลักฐานเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน น่าจะสันนิษฐานได้ว่าสร้างมาแต่ครั้งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 – 2231)

เดิมมีชื่อว่า วัดเกาะแก้ว เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำลพบุรี ปัจจุบันมีการตัดถนนไปถึงตัววัดจึงไม่มีลักษณะเป็นเกาะเช่นเดิม สถานที่ที่มีชื่อเสียงของวัดนี้คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง ผู้ที่สร้างวัดนี้คือ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดมณีชลขันฑ์ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

นอกจากนี้ที่วัดนี้มีต้นโพธิ์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงปลูกไว้ ปัจจุบันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เพราะมีถนนตัดผ่าตรงกลางพอดี ทีโบราณสถานที่น่าสนใจคือ พระเจดีย์ รูปทรงแปลกตาที่ก่อเป็นรูปเหลี่ยมสูงชะลูดขึ้นไป คล้ายกับพระเจดีย์เหลี่ยมสมัยเชียงแสน แต่ตรงมุมมีการย่อไม้สิบสองทำเป็น 3 ชั้น มีชุ้มประตูยอดแหลมยู่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน


วัดมณีชลขัณฑ์และเจดีย์หลวงพ่อแสง ก่อนการสร้างเขื่อนล้อมรอบเกาะ

จากที่กล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่าวัดมณีฯ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยเป็นวัดหลวง ที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์และด้วยเหตุที่สภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ เหมาะแก่การเสด็จประพาสประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ จึงทำให้มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล และเสด็จมาประทับพักผ่อนหลายพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เคยเสด็จท้องพรหมาสตร์เล่นสักวาเมื่อวันขึ้นสิบค่ำ เดือนสิบสอง ปีวอก ตรงกับ พ.ศ. 2415 )

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จพระราชทานกฐิน 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2458 และ พ.ศ. 2469 การเสด็จแต่ละครั้งก็จะประทับ ณ พระตำหนักแพ กลางท้องพรหมาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เคยเสด็จเมื่อตอนลาผนวชก่อนขึ้นเสวยราชย์ หรือมีพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เคยเสด็จถวายพระกฐิน ณ วัดนี้เช่นกัน




ถาวรวัตถุที่สำคัญของวัด

วัดมณีชลขัณฑ์ ตั้งอยู่บนเกาะด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองลพบุรี ปัจจุบันมีสะพานและถนนสายลพบุรีสิงห์บุรี เชื่อมจนไม่รู้สึกว่าเป็นเกาะ วัดนี้เดิมชื่อว่า " วัดเกาะแก้ว " เพราะเป็นวัดตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำสภาพปัจจุบันถูกถมดินจนไม่เห็นร่องรอยเดิม

สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรกที่มีความงดงาม ต้นศรีมหาโพธิ์ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระพุทธรูปใหญ่ริมน้ำซึ่งมีลักษณะงดงามมาก ในหน้าเทศกาลเดือนสิบสอง วัดนี้เป็นแหล่งชุมนุมของประชาชนมาแข่งเรือและลอยกระทงกันเป็นประจำทุกปี และจุดเด่นที่สำคัญของพระอารามหลวงแห่งนี้ก็คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง





เจดีย์หลวงพ่อแสง

เจดีย์หลวงพ่อแสง วัดมณีชลขัณฑ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ในปัจจุบันว่า วัดมณี มีปูชนียวัตถุสถานที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เจดีย์หลวงพ่อแสง เป็นเจดีย์ฐานเล็กแต่ทรงสูง อยู่ทางด้านใต้ของวัด สามารถมองเห็นได้แต่ไกล และถือเป็นสัญลักษณ์ตราประจำวัดด้วย

เจดีย์นี้มีลักษณะองค์เจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทรงสูงชลูด ฐานขนาด 15.40 เมตร ทำเป็น 3 ชั้น มีซุ้มประตูยอดแหลมอยู่ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน ชั้นที่ 4 ตอนบนเป็นองค์ระฆัง ส่วนยอดทำเป็นแท่นบัลลังก์ และปล้องไฉนขึ้นไป เจดีย์หลวงพ่อแสงนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดลพบุรีและใกล้เคียงเป็นอันมากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้เขียนถึงเจดีย์หลวงพ่อแสงว่าผู้สร้าง คือ พระอาจารย์แสง

ดังปรากฏในตำนานเมืองลพบุรีว่า ที่ท้องทุ่งพรหมาศอยู่ใกล้เมือง มีพระเจดีย์สูงที่วัดมณีชลขัณฑ์ องค์ 1แลเห็นได้แต่ไกล ชวนให้สำคัญว่าเป็นของสร้างไว้แต่โบราณ แต่แท้จริงเป็นของพระภิกษุองค์ 1 ชื่อพระอาจารย์แสง เป็นผู้คิดแบบสร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองทรงชลูด กำลังเอนไปทางทิศใต้จนมีผุ้ให้สมญานามว่า หอเอนเมืองลพบุรี

เล่ากันว่า หลวงพ่อแสงผู้สร้างวัดนี้ สร้างเจดีย์ความสูงขนาด 5-6 ชั้น โดยไม่ใช้นั่งร้าน สร้างเสร็จแล้วก็กระโดดลงมาแล้วหายตัวไป เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดลพบุรีและผู้รักในศิลปะโบราณสถาน ได้ช่วยกันบูรณะบริเวณรอบพระเจดีย์ ให้เป็นสวนสาธารณะ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ทำให้บริเวณนั้นร่มรื่น น่าดูยิ่งขึ้น

ต่อมามีการสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแสง และสมเด็จพุฒาจารย (โต) พรหมรังสี โดยร่วมใจกันบูรณะเจดีย์ครั้งใหญ่เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ ครบ 48 พรรษา ในพ.ศ. 2546 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย




บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

โบราณวัตุที่สำคัญ

จารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์ เป็นไม้สร้างในปีพุทธศักราช ๒๒๒๕ เป็นภาษาไทย จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑๑ บรรทัดวัตถุจารึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง ๔๘ ซม. สูง ๖๗ ซม. หนา ๑๔ มม.เนื้อหากล่าวถึงประวัติการสร้างบุษบกธรรมาสน์หลังนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๕ และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายผู้สร้างคือ ขุนศรีเทพบาลราช รักษาและแม่ออกบัน อายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. ๒๒๒๕ ตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)

เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ได้ขอรับมอบชิ้นส่วนธรรมาสน์ ที่เก็บรักษาอยู่ในศาลาวัดมณีชลขัณฑ์ มาจัดแสดง ลักษณะเป็นหลังคาซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียวเล็กขึ้นไปจนถึงปลายสุดเป็นยอดแหลม ตัวเรือนโปร่งสำหรับภิกษุนั่งแสดงธรรม มีบันไดทางขึ้นข้างบุษบก

อนึ่ง ในสมัยอยุธยามีความนิยมในการสร้างบุษบกธรรมาสน์เพื่อถวายวัด เนื่องด้วยความศรัทธาหรือเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาในการสร้างนาน เพราะต้องใช้ไม้เนื้อดี และช่างต้องมีความประณีตสูง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์




ประเพณีที่เกี่ยวข้อง

    ตักบาตรดอกไม้ ประเพณีการตักบาตรดอกไม้ คือ การนำดอกไม้ ธูป เทียน ถวายพระก่อนที่พระจะเข้าโบสถ์ในวันเข้าพรรษา
    ประเพณีลอยกระทงบริเวณริมแม่น้ำลพบุรี




บริเวณของหน้าวัด

พระประธานภายในพระอุโบสถ

หอระฆัง

ภาพวัดมณีชลขัณฑ์ถูกน้ำท่วมหนักในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/วัดมณีชลขัณฑ์


     กระทู้นี้ภูมิใจนำเสนออีกแล้วครับ ขรัวตาแสง เป็นศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาองค์หนึ่ง และเป็นอาจารย์คนสำคัญของสมเด็จโต หรือ ขรัวโต
     กระทู้นี้โพสต์เพื่อ บูชาคุณของบูรพาจารย์สายกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ....ขอรับ

      :25: :25: :25:

     ลิงค์แนะนำ
     "หลวงปู่แสง"(ขรัวตาแสง) ในส่วนที่กล่าวขานเนื่องกับ "พระครูโลกอุดร"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4276.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ