« เมื่อ: เมษายน 22, 2013, 10:16:59 am »
0
พระพุทธรูป ปางประทานธรรม
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย โดย..ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
แบบที่ 1 พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายจับด้ามพัด พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ (เข่า)
แบบที่ 2 พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นจีบนิ้วพระพุทธรูปทั้งสองแบบนี้เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระภิกษุ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร (วิหารแปลว่าที่อยู่ของพระพุทธเจ้า) ว่า พระองค์ประกอบด้วย ทศพลญาณ 10 เวสารัชญาณ 4 จึงได้ปฏิญาณฐานะของผู้องอาจและประทานธรรมเรื่องเบญจขันธ์และปฏิจจสมุปบาทแก่เทวดาและมนุษย์
ปางประทานธรรมก็คือ ปางที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปปางนี้จึงมีความหมายเป็นคติของการ รับฟังธรรมที่สำคัญที่สุด ที่ว่าด้วยเรื่องเบญจขันธ์ จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ อธิบายไว้ดังนี้
เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น ส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)
1. รูปขันธ์ (กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)
2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์หรือเฉยๆ)
3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6)ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ของท่านประยุทธ์ ปยุตโต บรรยายความหมายของหัวข้อธรรมไว้ว่าหมายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อมการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น
ในเรื่องของรายละเอียดเรื่องนี้มีความสลับซับซ้อนเกี่ยวเนื่องต่อกันมากมาย ไม่อาจจะเขียนเล่าในที่นี้ได้
สรุปได้เพียงว่า พระพุทธรูปปางประทานธรรมนี้ สัญลักษณ์ของพระพุทธรูปจึงเป็นพระพุทธรูปที่แสดงธรรมะที่ ลึกซึ้ง เป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนควรจะต้องศึกษาอย่างจริงจังที่สุดขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEl4TURRMU5nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5TVE9PQ==http://www.bloggang.com/,http://upload.wikimedia.org/