ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประโยชน์อันได้จาก "การฟังด้วยดี"  (อ่าน 516 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28607
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประโยชน์อันได้จาก "การฟังด้วยดี"
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2019, 07:05:55 am »
0


 :25: :25: :25:

ประโยชน์อันได้จาก "การฟังด้วยดี"

ภิกษุยังไม่ประสบความยินดีในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมคือกุศลอันยิ่งเหล่านั้น คือไม่ประสบความยินดียิ่ง เพราะไม่ได้คุณพิเศษ ติดต่อเป็นลำดับไป พึงเป็นผู้มีตนอันรักษาแล้ว คือมีจิตอันรักษาแล้วโดยกำหนดกรรมฐาน พึงเป็นผู้มีสติอยู่ด้วยการเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งสติเป็นเครื่องรักษาในทวารทั้ง ๖ ในสงฆ์คือในหมู่แห่งภิกษุ และเมื่อเธออยู่อย่างนี้ พึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์โดยแท้.

(๑๔๑) การฟังด้วยดีเป็นเหตุให้การศึกษาเจริญ การศึกษาเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญ บุคคลรู้ประโยชน์ได้ก็เพราะปัญญา ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้วนำความสุขมาให้

(๑๔๒) ภิกษุพึงใช้เสนาสนะที่สงัด พึงประพฤติธรรมที่เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากสังโยชน์ ถ้ายังไม่ประสบความยินดีในเสนาสนะที่สงัดและโมกขธรรมนั้น ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตนอยู่ในหมู่ (1)



บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุสฺสูสา ได้แก่ ความปรารถนาเพื่อจะฟังสุตะทั้งปวงที่ควรแก่การฟัง. แม้ความอยู่ร่วมกับครู ก็ชื่อว่า สุสฺสูสา.

อธิบายว่า อันกุลบุตรผู้ปรารถนาจะฟังข้อความที่มีประโยชน์ ต่างด้วยทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์เป็นต้น เข้าไปหากัลยาณมิตร เข้าไปนั่งใกล้ ด้วยการกระทำวัตรในเวลาใด ยังกัลยาณมิตรเหล่านั้นให้มีจิตโปรดปรานด้วยการเข้าไปนั่งใกล้ ย่อมมีความประสงค์จะเข้าไปนั่งใกล้ๆ กัลยาณมิตรบางคน ครั้นกุลบุตรเข้าถึงตัว เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตรเหล่านั้นแล้ว พึงเงี่ยโสตลงสดับด้วยความปรารถนาเพื่อจะฟัง เพราะเหตุนั้น แม้การอยู่ร่วมกับครู

ท่านจึงกล่าวว่า สุสฺสูสา (การฟังดี) เพราะเป็นต้นเหตุแห่งการฟังด้วยดี ก็การฟังดีนี้นั้น
ชื่อว่า สุตวทฺธนี เพราะเป็นเหตุให้สุตะอันปฏิสังยุตด้วยสัจจปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
เจริญ คือ งอกงามแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยการฟังนั้น. อธิบายว่า ทำให้เป็นพหูสูต.


@@@@@@

บทว่า สุตํ ปญฺญาย วทฺธนํ ความว่า พาหุสัจจะนั้นใดที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้ทรงสุตะ เป็นผู้สั่งสมสุตะก็ดี ว่าบุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์มากดังนี้ก็ดี พาหุสัจจะนั้นย่อมยังปัญญาอันเป็นเหตุให้ละความชั่ว บรรลุถึงความดีให้เจริญ เพราะเหตุนั้น สุตะจึงชื่อว่ายังปัญญาให้เจริญ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธแล ย่อมละอกุศลได้ ย่อมยังกุศลให้เจริญได้ ย่อมละธรรมที่มีโทษ ย่อมยังธรรมที่ไม่มีโทษให้เจริญ ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้."

@@@@@@

บทว่า ปญฺญาย อตฺถํ ปชานาติ ความว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูตตั้งอยู่ในสุตมยญาณ (ญาณอันสำเร็จด้วยการฟัง) แล้วปฏิบัติอยู่ซึ่งข้อปฏิบัตินั้น ย่อมรู้และแทงตลอดอรรถอันต่างด้วยโลกิยะและโลกุตระ จำแนกออกเป็นทิฏฐธรรมเป็นต้นและจำแนกออกโดยอริยสัจมีทุกขสัจเป็นต้น ด้วยการสอบสวนข้อความตามที่ได้ฟังมาและด้วยภาวนาคือการเข้าไปเพ่งธรรม.

สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
"บุคคลรู้เหตุ รู้ผลของสุตะตามที่ได้เรียนมาแล้ว ย่อมปฏิบัติธรรมโดยสมควรแก่ธรรม ดังนี้."

และตรัสว่า
"บุคคลย่อมพิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาอรรถอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรซึ่งการเพ่ง เมื่อธรรมควรซึ่งการเพ่งมีอยู่ ฉันทะย่อมเกิด ผู้ที่มีฉันทะเกิดแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้วย่อมพิจารณา ครั้นพิจารณาแล้วย่อมตั้งความเพียร ผู้ที่มีความเพียรย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจด้วยกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งปรมัตถสัจนั้นด้วยปัญญา."


@@@@@@

บทว่า ญาโต อตฺโถ สุขาวโห ความว่า ประโยชน์มีทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์เป็นต้นก็ดี ประโยชน์ในทุกขสัจเป็นต้นก็ดี ตามที่กล่าวแล้วที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วตามความเป็นจริง ย่อมนำมาคือให้สำเร็จความสุขต่างโดยโลกิยสุขและโลกุตรสุข.

ประโยชน์ย่อมไม่มี แก่ผู้ที่มีปัญญาภาวนาตามที่ตนทรงไว้ ด้วยเหตุเพียงการฟังอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อจะแสดงถึงวิธีปฏิบัติแห่งภาวนาปัญญานั้น จึงกล่าวว่า "ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุให้จิตหลุดจากสังโยชน์."

ในบรรดาบทเหล่านั้น พระเถระกล่าวถึงกายวิเวก ด้วยบทว่า เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ.

ก็ด้วยบทนั้น กายวิเวกก็คือการอยู่อย่างสงัดของผู้ที่ควรแก่วิเวกนั่นเอง เพราะการละสังโยชน์จะกล่าวถึงต่อไป (ข้างหน้า) เพราะฉะนั้น สังวรมีศีลสังวรเป็นต้น พึงทราบว่า สำเร็จแล้วโดยไม่ได้กล่าวไว้ในคาถานี้.

@@@@@@

บทว่า จเรยฺย สํโยชนวิปฺปโมกฺขํ ความว่า จิตย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ได้โดยประการใด ภิกษุพึงประพฤติ คือ พึงปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาและมรรคภาวนาโดยประการนั้น.

บทว่า สเจ รตึ นาธิคจฺเฉยฺย ตตฺถ ความว่า ภิกษุยังไม่ประสบความยินดีในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมคือกุศลอันยิ่งเหล่านั้น คือไม่ประสบความยินดียิ่ง เพราะไม่ได้คุณพิเศษ ติดต่อเป็นลำดับไป พึงเป็นผู้มีตนอันรักษาแล้ว คือมีจิตอันรักษาแล้วโดยกำหนดกรรมฐาน พึงเป็นผู้มีสติอยู่ด้วยการเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งสติเป็นเครื่องรักษาในทวารทั้ง ๖ ในสงฆ์คือในหมู่แห่งภิกษุ และเมื่อเธออยู่อย่างนี้ พึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์โดยแท้ (2)




อ้างอิง :-
(1) มหาจุนทเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖
ฉบับภาษาไทย http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=268
ฉบับภาษาบาลี http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=5904
(2) ข้อความบางตอนในอรรถกถามหาจุนทเถรคาถาhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=268

ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/ประโยชน์อันได้จากการฟั/
เรียบเรียงโดย พระไตรปิฎกศึกษา
Author : admin
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ