ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "สวัสดีปีใหม่ค่ะ" "สวัสดีปีใหม่ครับ" คำนี้มีที่มาอย่างไร  (อ่าน 1962 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28607
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"สวัสดีปีใหม่ค่ะ" "สวัสดีปีใหม่ครับ"

ในขณะที่คนไทยทั้งประเทศเปล่ง เสียงคำนี้กันถ้วนหน้า เพื่อส่งความสุขและมอบความรู้สึกดีๆให้แก่กันในวันปีใหม่ แต่จะมีกี่คนที่ทราบที่มาของคำว่า “สวัสดี”อย่างแท้จริง ในฐานะครูภาษาไทย วันนี้ครูลิลลี่มีเกร็ดความรู้ดีๆเกี่ยวกับคำนี้มาฝากกันค่ะ.....

คำว่า “สวัสดี” เป็นคำทักทายของคนไทย โดยจะใช้เมื่อแรกพบกัน หรือ เมื่อต้องการบอกลา โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า "สวัสดี (สวัสดิ์)" ว่าหมายถึง ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง และความปลอดภัย ใช้ในการการอวยชัยให้พร คำทักทาย หรือพูดขึ้นเมื่อพบหรือจากกัน

นอกจากนั้น เท่าที่คุณครูได้ไปสืบค้นมายังพบว่า ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยที่ท่านได้พิจารณามาจากศัพท์ว่า "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสติ" ในภาษาสันสกฤต เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2486  จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการและประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปี เดียวกันนั้นเป็นต้นมา

หากจะพิจารณาให้ถึงรากศัพท์ และทำความรู้จักกับคำว่า “สวัสดี” ให้ถ่องแท้ คุณครูลิลลี่ก็ขอเจาะลึกลงไปอีกว่า "สวัสดี" เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า "สุ" เป็นคำอุปสรรค (หรืออธิบายง่าย ๆ ได้ว่าเป็นคำเติมหน้าศัพท์ที่ทำให้ความหมายของศัพท์เปลี่ยนแปลงไป)

“สุ” แปล ว่า ดี งาม หรือ ง่าย และคำว่า "อสฺติ" เป็นคำกิริยาแปลว่า มี แผลงคำว่า "สุ" เป็น "สว" (สฺวะ) ได้โดยเอา "อุ" เป็น "โอ" เอา "โอ" เป็น "สฺว"


ตามหลักไวยากรณ์ แล้วสนธิกับคำว่า "อสฺติ" เป็น "สวสฺติ" อ่านว่า สะ-วัด-สะ-ติ แปลว่า "ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน)"

โดยพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า "สวสฺติ" ที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น "สวัสดี" ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดีๆ ต่อกันของคนไทยค่ะ

คุณครูลิลลี่ ขอเพิ่มเติมนอกเหนือจากแค่ความหมายและที่มาของคำว่า “สวัสดี” อีกนิด นะคะ ในสังคมไทยเราเมื่อกล่าวคำว่า “สวัสดี” เรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอกด้วย สำหรับการไหว้นั้นมือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่ บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้นมาจากใจของผู้ไหว้ นั่นเอง

รู้ทั้งความหมาย รู้ทั้งประวัติความเป็นมา ของคำ ๆ นี้ไปแล้ว ปีใหม่นี้ก็หวังว่าเรา ๆ ท่าน ๆ คุณผู้อ่านทุกคนจะสวัสดีปีใหม่กันจากหัวใจที่เปี่ยมด้วยความเข้าใจในความ รู้สึกดี ๆ ความปรารถนาที่ดีที่มีให้แก่กันอย่างจริงใจนะคะ... “สวัสดีปีใหม่ค่ะ”

บทความโดย ครูลิลลี่
twitter  :: @krulilly ,    www.facebook.com/krulilly2
www.kru-lilly.com ,  instagram  ::  krulilly



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/226939
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ